top of page

โรคแพนิค ภาวะตื่นตระหนกที่ควรเรียนรู้เพื่อเข้าใจ

Updated: Oct 25, 2023

เมื่อ "วู้ดดี้" พิธีกรชื่อดังออกมาเล่าว่า Panic กลับมาแล้ว ในช่อง Tiktok ส่วนตัว โดยมีอาการ Panic มาเยือนทุกหนึ่งทุ่มตรง ทั้งๆที่นั่งกินข้าวอยู่กับครอบครัว บางวันนั่งอยู่กับเพื่อนๆ คุยกันอย่างสนุกสนาน จู่ๆภาวะแพนิคก็เกิดขึ้นฉับพลัน เมื่อกลับบ้าน และกลัวว่าจะเกิดแพนิค ก็เกิดขึ้นจริงๆ

วู้ดดี้เคยให้สัมภาษณ์ว่า ตนเองเป็นโรคแพนิคจนต้องหยุดทำรายการทีวี และเป็นหนักถึงขั้นไม่ออกจากบ้านเลยเป็นปี และรักษามาเรื่อยๆ แต่ไม่ได้หายขาด ซึ่งเกิดจากการที่เขาเป็น Perfectionist (คนที่รักความสมบูรณ์แบบ) มาตั้งเเต่เด็ก มันก็สะสมมาเรื่อยๆ"


โรคแพนิคคืออะไร

โรคแพนิค (Panic) คือ ภาวะตื่นตระหนก วิตกกังวล หรือความกลัว ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันเหมือนโดนจู่โจมทั้งที่ไม่ได้เผชิญกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่อันตรายใด ๆ ซึ่งอาการรุนแรงจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 3-10 นาที เกิดขึ้นเป็นพัก ๆ อาจนานถึงหนึ่งชั่วโมง โดยมักเกิดขึ้นร่วมกันอาการต่าง ๆ ที่พบได้ดังนี้


สาเหตุของโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร?

โรคแพนิคเกิดขึ้นได้ในคนทั่ว ไป เกิดจากได้หลายสาเหตุ ไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง

สาเหตุทางกาย

  • ปัจจัยด้านพันธุกรรม : ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล มีโอกาสเกิดอาการได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในเครือญาติ

  • ปัจจัยด้านฮอร์โมนในร่างกาย : ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง อาจทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุลการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติไป เกิดเป็นโรคแพนิคได้

สาเหตุทางจิตใจ

  • ความเครียด ความวิตกกังวล พฤติกรรมหลายอย่างในชีวิตประจำวัน เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคได้ เช่น การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ทำงานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออยู่กับมือถือเป็นเวลานาน พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย หรือต้องเผชิญกับสภาวะกดดัน เป็นต้น

  • ผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง เช่น การสูญเสีย ผิดหวังรุนแรง




อาการของโรคแพนิค ที่พบได้บ่อย ๆ

  • ใจเต้นเร็ว สั่นเหมือนตีกลอง

  • เจ็บบริเวณหน้าอก

  • หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม

  • รู้สึกมึนงง โคลงคลง เป็นลม

  • รู้สึกชา หรือซ่า ตามปลายมือ ปลายเท้า

  • ตัวร้อนวูบวาบ หรือตัวสั่น

  • เหงื่อแตก

  • อ่อนเพลีย

  • คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง

  • ความรู้สึกเหมือนตกอยู่ในความฝัน มีการรับรู้บิดเบือนไป

  • ความกลัวอย่างท่วมท้น ร่วมกับความรู้สึกสังหรณ์ว่ามีบางอย่างที่น่ากลัวเกิดขึ้นกับตัวเองและเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ กลัวว่าจะตาย กลัวว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้ เหมือนจะเป็นบ้า หรือแสดงอาการบางอย่างที่น่าอายออากไป



หากมีอาการ ‘แพนิก’ ผู้ป่วยควรรับมืออย่างไรให้ถูกต้อง

  1. โรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต เหมือนที่ผู้ป่วยมักกลัว

  2. ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษา

  3. ไม่ควรบรรเทาอาการด้วยการเสพสุรา หรือใช้ยานอนหลับ เพราะอาการรุนแรงขึ้นเมื่อหยุดเสพ

  4. ลดหรืองด กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ประเภทโคล่าทุกชนิด

  5. ออกกำลังกายตามสมควร ตามความสามารถ

  6. เมื่อมีอาการต่างๆ ทุเลาลงแล้ว ควรออกไปเผชิญกับสถานการณ์ที่เคยหวาดกลัวและลองทำกิจกรรมที่เคยหลีกเลี่ยงโดยเริ่มทีละน้อยแต่สม่ำเสมอ

  7. ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เพื่อลดระดับของความตึงเครียด



รักษาอย่างไรได้บ้าง


ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ คือการรักษาทางยาร่วมกับการดูแลด้านจิตใจ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นมากจนหายขาดได้ 7 หรือ 9 รายใน 10 ราย โดยอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายหลังเริ่มมีอาการรักษาแล้ว 6-8 สัปดาห์ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วแพทย์ยังคงให้การรักษาต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อป้องกันการกำเริบของอาการ การหยุดยาควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาทันที เพราะจะเกิดอาการหยุดยาหรือมีอาการกำเริบ


ความเข้าใจของคนรอบข้างก็เป็นสิ่งสำคัญ หากใครคิดว่าตนเองมีภาวะแบบนี้ ให้แชร์เรื่องนี้กับครอบครัวหรือคนที่เรารัก เพื่อทำความเข้าใจและไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา



ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก

https://www.praram9.com/

11 views0 comments

Comentários


bottom of page