top of page

"มีดาวหางดวงนึงที่ยังโคจรในอวกาศ" ชวนดูเศษฝุ่นของดาวหางฮัลเลย์ 21 – 22 ตุลาคม นี้

Updated: Oct 19, 2023


ชวนชม ปรากฏการณ์ ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ เศษฝุ่นของดาวหางฮัลเลย์ ในวันที่ 21 – 22 ตุลาคม 2566 หลังดาวหางฮัลเลย์โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์และโลกในรอบหลายปี



สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ได้ออกมาโพสต์ชวนประชาชน ชมภาพบรรยากาศ ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ที่จะปรากฏให้เห็นในระหว่างคืนวันที่ 21 ตุลาคม 2566 ไปจนถึงเช้าวันที่ 22 ตุลาคม 2566



“ดาวหางฮัลเล่ย์” คือชื่อดาวหางที่คนไทยมีความคุ้นเคยและรู้จักมากที่สุด เหตุเพราะดาวหางมีความสว่างที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ชัด


Photo by Justin Wolff on Unsplash



เรื่องเศร้าๆของดาวหางฮัลเล่ย์

ชื่อดาวหางฮัลเล่ย์มาจากชื่อของคนที่ค้นพบดาวหางนี้ ที่ชื่อว่า “เอ็ดมันด์ ฮัลเล่ย์” ซึ่งเขาเป็นผู้คำนวณและทำนายการปรากฏตัวของดาวหางได้สำเร็จเป็นคนแรก ฮัลเล่ย์พบว่าดาวหางดวงนี้จะโคจรกลับมาให้เห็นบนท้องฟ้าทุกๆ 75 - 76 ปี


เอ็ดมันด์ ฮัลเล่ย์


จากที่มีผู้บันทึกการพบเห็นดาวหางที่ปรากฏในปี ค.ศ. 1531, 1607 และ 1682 โดยฮัลเล่ย์สันนิษฐานว่าดาวหางที่ปรากฏนี้น่าจะเป็นดาวหางดวงเดียวกัน ดาวหางดวงนี้จะกลับมาปรากฏตัวอีกครั้งในปี ค.ศ. 1759 แต่เสียดายที่เขาเสียชีวิตไปซะก่อนที่จะพิสูจน์ว่าสิ่งเขาทำนายนั้นเป็นจริง ปรากฎการณ์ดาวหางนี้สร้างความตื่นเต้นแก่ผู้คนในโลกตะวันตกเป็นอย่างมาก ในเวลาต่อมาดวงนี้จึงได้ชื่อดาวหางตามชื่อของเขาว่า “ดาวหางฮัลเล่ย์” เพื่อเป็นเกียรติแก่เขานั่นเอง



มรดกที่ฮัลเล่ย์ทิ้งไว้คือเทคนิคการคำนวณหาคาบวงโคจรของดาวหาง และนักดาราศาสตร์ยุคต่อมาก็ใช้เทคนิคการคำนวณของฮัลเล่ย์ทำนายการมาเยือนของดาวหางดวงนี้ในอนาคต ซึ่งดาวหางฮัลเล่ย์จะกลับมาให้เราได้ชมอีกครั้งในราวช่วงกลางปี พ.ศ. 2604 จากมรดกที่ฮัลเล่ย์ฝากไว้ให้คนรุ่นหลัง


และเมื่อวันที่ดาวหางโคจรมาถึง แม้จะเป็นแค่เศษฝุ่นของดาวหาง ก็จูงมือคนๆนั้นไปดูดาวหางฮัลเล่ย์ด้วยกันนะ






ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.narit.or.th/

428 views0 comments

Comments


bottom of page