top of page

ความเหงาเรื้อรังน่ากลัวกว่าที่คิด

Updated: May 28


มนุษย์ได้วิวัฒนาการเป็นสัตว์สังคมมาตั้งแต่สมัยยุคดึกดำบรรพ์ เพราะการอยู่คนเดียวอาจเสี่ยงอันตรายและลดโอกาสในการอยู่รอดได้ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าความเหงาเป็นสัญญาณของความเครียดที่เป็นลักษณะเฉพาะที่กระตุ้นให้มนุษย์อยากมีความสัมพันธ์และอยากมีเพื่อน


ความเหงาที่เกิดเป็นประจำอาจก่อให้เกิดความเครียดซึ่งนานๆเข้าจะเริ่มกลายเป็นผลเสียต่อร่างกาย


นักวิจัยด้านอายุศาสตร์ที่ ม.วิสคอนซิน กล่าวว่า ความเหงาเล็กๆเป็นบางคราวทำให้คนมองหาการติดต่อทางสังคมกับผู้อื่น แต่กรณีของความเหงาที่เกิดขึ้นบ่อยๆเป็นประจำจะเริ่มส่งผลเสีย เพราะคนช่างเหงาจะเริ่มกลัวการพูดคุยตอบโต้กับผู้อื่น และเริ่มมองหาทางเลี่ยงในการเข้าสังคม


Photo by Ivan Aleksic on Unsplash


นักวิจัยยังชี้ว่า คนช่างเหงามักมีความรู้สึกไวต่อคำพูดเชิงลบมากกว่าคนทั่วไปเช่นคำว่า "ไม่ชอบ" "ไม่ดี" และรู้สึกไวต่อคนที่แสดงสีหน้าไม่โอเค คนช่างเหงายังมักเก็บสีหน้าไม่อยู่ต่อคนแปลกหน้าแม้จะอยู่ในสถานการณ์เชิงบวก นี่บ่งชี้ว่า แม้จะมีเรื่องดีๆเกิดขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้พวกเขารู้สึกดีได้ ความเหงาเรื้อรังส่งผลต่อการรับรู้ต่อสังคม, การรู้จักตัวเอง และการประมวลผลด้านอารมณ์




ผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ทำให้รู้ว่าความเหงาเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ รวมถึงโรคสมองเสื่อมอื่นๆ การศึกษาที่ถูกเผยแพร่ในปีที่ผ่านมายังบ่งชี้ว่าความเหงาเกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสันด้วย พูดง่ายๆว่า ความเหงามีผลกับระบบสมองและการเสื่อมของระบบประสาท


Photo by CDC on Unsplash


อย่างไรก็ตาม ความเหงาเล็กน้อย อาจไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่หากเหงาแบบเรื้อรัง น่าจะเป็นอันตรายทั้งต่อสุขภาพและทางจิตใจในระยะยาว ที่เคยคิดว่าความเหงาไม่น่ากลัว ตอนนี้เริ่มน่ากลัวแล้วล่ะ


ฉะนั้นใครที่ยังมีเพื่อน ก็ออกไปเจอเพื่อนบ้าง ส่วนคนที่ไม่มีเพื่อน คงต้องหากิจกรรมที่ทำให้เราเจอผู้คนบ้างนะ


Photo by Briana Tozour on Unsplash




30 views0 comments

Commenti


bottom of page