top of page

ความเหงาเป็นภัยคุกคามระดับโลก คำประกาศจาก WHO

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้ความเหงาเป็นภัยคุกคามสุขภาพระดับโลกเร่งด่วน ศัลยแพทย์ใหญ่สหรัฐระบุว่าอันตรายของความเหงาเทียบเท่าได้กับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน และยังเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า และโรคอัลไซเมอร์ โดยความเหงายังสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและอารมณ์ เช่น ความรู้สึกโดดเดี่ยว ไร้ค่า และสิ้นหวัง


Photo by - - on Unsplash


WHO ตั้งคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับปัญหานี้ ซึ่งคณะดังกล่าวได้จัดตั้งขึ้นหลังจากมีการะบาดใหญ่ของโควิด 19 ที่ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมหยุดชะงัก ทำให้ระดับความเหงาเพิ่มสูงขึ้น


หนึ่งในคณะกรรมการบอกว่าความเหงามันไม่มีพรมแดน และกำลังเป็นความกังวลด้านสาธาณสุขที่ส่งผลกระทบต่อสุชภาพ สวัสดิภาพและพัฒนาการในทุกด้าน การแยกตัวจากสังคมไม่แบ่งอายุหรือพรมแดน



ในผู้ใหญ่ ความเหงามีส่วนทำให้เป็นสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นถึง 50% และโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 30% ส่วนในวัยหนุ่มสาว ผลวิจัยเมื่อปีที่แล้วบอกว่า วัยรุ่น 5-15% มีภาวะเหงา ในแอฟริกา วัยรุ่น 12.7% มีปัญหาเรื่องความเหงา วัยรุ่นที่มีปัญหาความเหงาที่โรงเรียนมีแนวโน้มที่จะไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัย


สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2564 พบว่ามีคนไทยกว่า 40% รู้สึกเหงา โดยกลุ่มที่รู้สึกเหงามากที่สุด ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่อาศัยอยู่ในชนบท และผู้ที่อาศัยอยู่คนเดียว


Photo by M. on Unsplash


ความเหงาไม่ได้ส่งผลต่อประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่ความเหงาคือภัยคุกคามด้านสาธารณสุขที่ได้รับการตระหนักถึงน้อยเกินไป



48 views0 comments

Comments


bottom of page